หาดแม่รำพึง หรือก้นอ่าว ที่เป็นที่นิยมของคนชอบอาหารทะเล ตลอดแนวหาดเป็นสิบกิโลเมตร ทั้งสองข้างทางเต็มไปด้วยร้านอาหารทะเลสดๆ และบังกะโล รีสอร์ท คอนโดมิเนียม หาดแห่งนี้ มีนักท่องเที่ยวแวะมาตลอดปีทั้งตั้งใจมาพักและเพียงทางผ่านก่อนกลับกรุงเทพ เพื่อมาทานอาหารทะเลสดๆ และเป็นที่นิยมของชาวระยองเองด้วย บรรยากาศริมทะเลหาดทรายยาวสุดลูกหูลูกตา แนวสน และลมทะเล วันหยุดวันพักผ่อนสั้นๆก็จะเดินทางมาเพื่อสังสรรค์กับเพื่อนฝูงหรือครอบครับ
หาดแม่รำพึงอยู่บนถนนสุขุมวิท ก่อนถึงบ้านเพ เพียงไม่กี่กิโลเมตร จะมีทางแยกเพื่อเข้าหาด ออกจากระยองมาเพียง10กว่ากิโลเท่านั้น ช่วงที่น่าเที่ยวก็คงหนีไม่พ้นในหน้าร้อน แต่หาดแห่งนี้ก็ไม่ขาดนักท่องเที่ยวแม้ในฤดูฝน อาจเพราะเนื่องจากการเดินทางที่สะดวกไม่กี่ชั่วโมงจากกรุงเทพ และเรื่องอาหารทะเลที่เป็นแหล่งรวมร้านอาหารชื่อดังมากมาย
ลานหินขาว ตั้งอยู่ระหว่างกลางของหาดแม่รำพึง ถูกจัดเป็นสวนหินมีที่นั่งพัก เย็นๆจะเห็นนักท่องเที่ยวแวะมานั่งเล่นมากมายรวมทั้งชาวบ้านแถบนี้เองด้วย
วันหยุดนี้น่าลองมาหาอาหารทะเลสดๆทานกับครอบครัว หรือเพื่อนฝูงมากทีเดียว ร้านอาหารแถบนี้มีมากจนรับนักชิมได้ไม่จำกัน ส่วนใครชอบร้านไหน เลือกกันได้ตามสบายเลยครับ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งชื่อตามพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เทศาเมืองภูเก็ต ผู้ค้นพบเกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน อยู่ติดกับชายแดน ไทย - พม่า มีพื้นที่ประมาณ 84375 ไร่ ร้อยละ 76 ของพื้นที่เป็นทะเล ส่วนที่เหลือเป็นแผ่นดิน ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) เกาะรี (เกาะสต๊อก) และ 1 กองหินปริ่มน้ำ คือกองหินริเชลิว เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์นับว่ามีธรรมชาติที่สมบูรณ์ทั้งบนบกและใน ทะเล มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าชายหาด ป่าชายเลนมาประจบกับแนวปะการัง แนวปะการังมี ความสมบูรณ์ เหมาะสำหรับชมปะการังน้ำตื้น โดยกองหินริเชริว เหมาะสำหรับดำน้ำลึก เป็นแหล่งสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติใต้ทะเล มีปลาหลายชนิด มีโอกาสพบฉลามวาฬ ช่วงเวลาที่เหมาะกับการท่องเที่ยว คือ เดือนพฤษจิกายนถึง เดือนเมษายน และ หอยมือเสือ ปูเสฉวน นกกระแตผีชายหาด นกชาปีไหน รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น บ่าง[3]
หมู่เกาะสุรินทร์ จะเป็นเกาะที่วางตัวอยู่ในกลุ่มอ่าวขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงสามารถที่จะเป็น ที่บังคลื่นลมได้ดี ทั้งสองฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน จึงเป็นแหล่งกำเนิดแนวปะการังน้ำตื้น ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านของชาวเลเลกลุ่มสุดท้ายที่ยังดำรงวัฒนธรรมดั้งเดิม มากที่สุด คือ "มอแกน" หรือ "ยิบซีแห่งท้องทะเล" ประมาณ 200 คนปัจจุบันได้ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่เกาะสุรินทร์ใต้ ขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว และบางส่วนทำงานเป็นลูกจ้างของอุทยานฯ